วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ประชาคมอาเซียนส่งผลต่อการจักการศึษาของไทยในระดับบัณฑิตศึกษาอย่างไร

       ในบริบทดังที่กล่าวมาย่อมจะส่งผลกระทบทางด้านการศึกษาของไทยในระดับอุดม ศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ทางด้านการศึกษาจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียนดังต่อไปนี้คือ
ทางด้านอาจารย์  การปรับตัวเตรียมความพร้อมของอาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา  คือ  จะต้องมีกลวิธีในการสอนนิสิตให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียน  เช่น  การทำวิจัย  การบริหารงานทางวิชาการ  การทำนุบำรุงทางศิลปะวัฒนธรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนภาษาอังกฤษ  เพราะประชาคมอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร  ควรเน้นการใช้ภาษาให้มากขึ้น  และต้องสอดแทรกวัฒนธรรมไทยไปด้วย  เพราะเด็กไทยนิยมรับวัฒนธรรมจากต่างประเทศมากกว่าการที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมไทย  อาจารย์จะต้องสร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ในประชาคมอาเซียน  เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงาน  ต้องใช้เครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning  จะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้ในห้องเรียน  ไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ  ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม  ไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นิสิตสามารถเรียนรู้ได้  แสดงว่าอาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิม
 ส่วนทางด้านนิสิต  คือ นิสิตนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเรียนรู้ปรับตัว  และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต  เช่น  นิสิตต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการรวมตัว ของประเทศต่าง ๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ  การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนซึ่งสังคมยุคใหม่จะสะท้อนความเป็นสังคมพหุ  วัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น  การเรียนรู้ของนิสิตยุคใหม่จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้  ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย  อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์  การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้และเรียนรู้  ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน  พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี 

ประชาคมอาเซียนส่งผลต่อตัวนิสิตอย่างไร

                การที่ประชาคมอาเซียนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับประเทศสมาชิก  และแน่นอนที่สุดย่อมส่งผลกระทบต่อตัวดิฉันเป็นอย่างมาก  เนื่องจากประชาคมอาเซียนให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร  ซึ่งดิฉันนั้นใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่ค่อยดีนัก  อัตราการจ้างงานที่ต่าง ๆ  มีการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นอาจทำให้ประชาชนตกงานมากขึ้น  เพราะประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนสามารถเข้ามาทำงานในประเทศได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย  เพื่อนบ้านของประเทศไทยส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษได้ดีกว่าประเทศไทยมากจึงมีความได้เปรียบทางการเข้ามาทำงานมากกว่าที่ประเทศไทยจะไปทำงานที่ประเทศเพื่อนบ้าน  การที่ประชาคมอาเซียนเข้ามามีบทบาททำให้ดิฉันตื่นตัวในการเปลียนแปลงตัวเองมากขึ้น เช่น การศึกษาทางด้านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น  อย่างน้อยสิ่งแรกคือการได้กล้าพูดภาษาอังกฤษไม่ว่าจะผิดหรือถูก ก็ขอให้ได้พูดไว้ก่อน  และจะเป็นการที่ฝึกตัวเองให้กล้าที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งต่าง ๆ  ที่กลัว  และกล้าแสดงออกด้านต่าง ๆ มากขึ้นอีกด้วย


http://www.jamjung.com/variety/aec.html           http://www.enn.co.th/3891


วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กระบวนทัศน์
การศึกษาของไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลง  และการปรับตัวของระบบการศึกษาเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ประการสาคัญคือการสร้าง  ปัญญาวิถี ได้แก่การยกระดับการศึกษา การยกระดับคุณภาพแรงงาน และการยกระดับการวิจัยและพัฒนา การวางแผนระบบการศึกษา เพื่อสร้างด้านคุณภาพ ศักยภาพ และทักษะ  ซึ่ง เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  ได้กล่าวเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการศึกษาขึ้นใหม่ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ทางการศึกษา  สังคมแห่งการเรียนรู้ นำมากำหนดเป็นอุดมการณ์ทางการศึกษาเพื่อมุ่งสร้างสรรค์และพัฒนาคน
กระบวนทัศน์นั้น หมายถึงความคิดที่มีการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ  วิธีคิดหนึ่ง ๆ ก็คือ กระบวนทัศน์หนึ่งในการศึกษาเรื่องหนึ่งอาจมีหลากระบวนทัศน์ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิถีการศึกษา แต่ความหลากหลายเหล่านี้จะมีกระบวนทัศน์หลักอยู่เสมอ
กระบวนทัศน์หรือวิธีคิดของการจัดการศึกษาในยุคใหม่จะมีความแตกต่างจากวิธีคิดในรูปแบบการศึกษาแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะเป็นไปตามสภาพของสังคม และปรากฏการณ์ของสภาพแวดล้อม  ที่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย      ซึ่งเปรียบเทียบให้เห็นกระบวนทัศน์เก่า และกระบวนทัศน์ใหม่สรุปให้เห็นจากตาราง  ( ไพพรรณ เกียรติโชติชัย , 2545 )
กระบวนทัศน์เก่า
กระบวนทัศน์ใหม่
1. มองโลกแบบแยกส่วน ( Atomism ) โดยเชื่อว่า
องค์ประกอบย่อยของวัตถุสามารถดำรงอยู่อย่าง
อิสระ ดังนั้นจึงเชื่อการดำรงอยู่ของกลุ่มชล
1. มองโลกแบบองค์รวม ( Holism ) โดยเชื่อว่าทุก
อย่างเกี่ยวพันและสัมพันธ์กัน ดังนั้นจึงเชื่อในการ
ดำรงชีวิตของกลุ่มชน
2. เชื่อในเรื่องการแข่งขัน การแสวงหากำไรและหลัก
วิวัฒนาการที่คนแข็งแรงเท่านั้นจะดำรงชีพอยู่ได้
2. เชื่อในความร่วมมือ การประสานประโยชน์ และ
สันติภาพ
3. เชื่อว่ามนุษย์อยู่เหนือธรรมชาติ และสามารถ
เอาชนะธรรมชาติ
3. เชื่อในความประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ
ธรรมชาติ และต้องเคารพธรรมชาติ
4. เชื่อในเรื่องหลักรวมศูนย์อำนาจและเชื่อใน
ประชาธิปไตยตัวแทน
4. เชื่อในการกระจายอำนาจ และหลักของ
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
5. เน้นความสำคัญของวัตถุสารที่เหนือจิตวิญญาณ
5. เน้นความสำคัญของพลังงานและจิตวิญญาณ
6. เน้นความสำคัญของเศรษฐกิจ
6. เน้นความสำคัญของคุณค่าความเป็นมนุษย์
7. เชื่อว่าความจริงต้องเป็นระบบและมีความแน่นอน
7. เชื่อว่าโลกตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง
8. Text-Based Learning
8. IT-Based Learning


เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลง
    การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทุกทิศทาง และมีระบบตอบสนอง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญหลายด้าน ดังนี้
-  ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
-  เป็นเทคโนโลยีแบบตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้   
-  ทำให้เกิดสภาพการทำงานแบบทุกสถานที่ และทุกเวลา
-  ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบท้องถิ่นไปเป็นเศรษฐกิจโลก    
-  ทำให้มีลักษณะผูกพันหน่วยงานภายในเป็นแบบเครือข่ายมากขึ้น    
-  ก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น 

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อกระบวนทัศน์ทางการศึกษาอย่างไร
                การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ  ในปัจจุบันมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะเรื่องของกระบวนทัศน์ทางการศึกษา
1.จากการศึกษาในระบบโรงเรียน   ไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต  
2.จากการสอน  ไปสู่การเรียนรู้ 
3.จากความพยายามที่จะให้เกิดความเสมอภาคไปสู่คุณภาพของการศึกษา  
4.จากการเน้นที่ปัจจัยเรื่องเงินงบประมาณและวัสดุครุภัณฑ์   ไปสู่กระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งคุณภาพและปริมาณ
5.จากหลักสูตรความรู้เดียวๆในแนวลึกไปสู่หลักสูตรแบบบูรณาการ
6.จากการประเมินผลปริมาณของการเรียนรู้ความรู้ความจำ   เพียงอย่างเดียวไปสู่การประเมินผลทั้งคุณภาพและปริมาณของทุกมิติของผลลัพธ์การเรียนรู้  ได้แก่ด้านความรู้ความสามารถ  เจตคติ  ค่านิยม  และทางด้านร่างกาย
7.จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนแต่ละบุคคลไปสู่การประเมินความสำเร็จของโรงเรียนหรือระบบ
จะเห็นได้ว่าการที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการศึกษาทำให้ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาให้ทันกับยุคและสมัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ  การใช้เทคโนโลยีนั้นทำให้นักเรียนสามารถค้นคว้าหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของการศึกษาได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น  แต่ที่สำคัญเทคโนโลยีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย  ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่จะนำไปใช้เกิดประโยชน์หรือไม่

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อกระบวนทัศน์ทางการศึกษา  และส่งผลกระทบต่อตัวท่านในฐานะนักศึกษาอย่างไร
                ผลของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและกระบวนทัศน์ส่งผลต่อตัวดิฉันคือ  การสืบค้นข้อมูล  รับส่งงานต่าง ๆ  เป็นไปได้โดยง่าย  การจัดระบบการทำงานของดิฉันเองก็เป็นระบบ  แบบแผน  การตัดสินใจในการทำงาน การหาข้อมูลเปรียบเทียบ  และติดต่องานกับท่านอาจารย์ สะดวกรวดเร็ว  เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาให้ก้าวหน้านั้นเป็นสิ่งที่ดี  ในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกสบายให้แก่ชีวิตและสังคม  แต่เทคโนโลยีก็มีผลเสียเช่นเดียวกัน  คือการใช้เทคโนโลยีมาก ๆ ทำให้ดิฉันและคนรอบข้าง  ลืมวิถีชีวิตของตนเองไปในบางส่วน  เพราะมัวแต่ให้ความสำคัญของเทคโนโลยีมากเกินไป  การใช้เทคโนโลยีกันอย่างแพร่หลายในสังคมทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทำให้ดิฉันต้องปรับตัวให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเทคโนโลยีให้ได้
                โดยสรุปการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายภายในโลกทั้งในยุคปัจจุบันและในอนาคต แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบไปพร้อมๆ กัน อาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ได้ฉันท์ใด ก็สามารถทำลายล้างชีวิตและสังคมของมนุษย์ได้ฉันท์นั้น เนื่องจากปัจจัยสำคัญที่มีต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงว่าจะไปทางด้านใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ครอบครองเทคโนโลยีจะมี “ จริยธรรม ในการนำไปประยุกต์ใช้มากน้อยเพียงใด
เอกสารอ้างอิง
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01act02270246&show=1&sectionid=0101&day=2003/02/27